
E-Portfolio
หลักภาษาไทย
อนำไปใช้ มี 9 มาตรา คือ ก บ ด ม น ง ย ว ก.กา
(แทรก ก บ ด สะกด และ สั้น ถือเป็น คำตาย ส่วน ม น ง ย ว และ ยาว คือ คำเป็น) เมื่อประกอบกับ ทัณฑฆาต เรียก การันต์ คือ ไม่ออกเสียง เช่น จันทร์ ทุกข์ สุขสันต์ เป็นต้น
สระ – เสียงที่เปล่งออกมาแล้วไม่ผ่านการกล่อมเกลาจากอวัยวะภายในช่องปาก เรียกว่า เสียงแท้ แบ่งเป็น เสียงสระเดี่ยว (18)
อะ อา อิ อี อุ อู เอะ เอ
แอะ แอ โอะ โอ เออะ เออ อัวะ อัว เอาะ ออ
เสียงสระประสม (3) - (เอียะ) เอีย (เอือะ) เอือ (อัวะ) อัว
ข้อควรจำ อำ ไอ ใอ เอา ฤ ฤา ฦา ไม่ถือเป็นสระ เพราะมี เสียง พยางค์ท้าย คือ ม ย ว และเป็นเสียงซ้ำ คือ รึ (อึ) รือ (อือ) เป็นต้น สระจึงมี 21 รูป 21 (24) เสียง
วรรณยุกต์ – เสียงที่กำหนดตามระดับของเส้นเสียงเมื่อเปล่งออกมา ใช้กำหนดไตรยางศ์
มี 4 รูป 5 เสียง
ข้อควรจำ อักษรต่ำ รูปเอก เสียงโท รูปโท เสียงตรี
อักษรกลาง ผันได้ครบ 5 เสียง
อักษรสูง ผันได้ครบ 5 เสียงเมื่อนำอักษรต่ำคู่มาช่วย
3. พยางค์
โครงสร้างพยางค์ ตามปกติ ประกอบด้วย เสียง พยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ (3 ส่วน)
อาจมี พยัญชนะท้าย (4) หรือ การันต์ (4 พิเศษ) หรือตัวสะกดพร้อมการันต์ (5 ส่วน)
พยางค์ปิด – มีเสียงตัวสะกด (คำครุ ั เสียงยาว)
พยางค์เปิด – ไม่มีเสียงตัวสะกด (คำลหุ ุ และเสียงสั้น)
4. คำ
ภาษาไทย สร้างด้วยคำ 7 ชนิด คือ นาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ บุพบท สันธาน อุทาน
นาม - บอกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ มี 5 ประเภท สามานยนาม วิสามานยนาม อาการนาม สมุหนาม ลักษณนาม
สรรพนาม – ใช้แทนนาม มี 6 ประเภท บุรุษสรพนาม ประพันธสรรพนาม วิภาคสรรพนาม นิยมสรรพนาม อนิยมสรรพนาม ปฤจฉาสรรพนาม
กริยา – ใช้บอกอาการ มี 5 ประเภท สกรรม อกรรม วิกรรต (เป็น เหมือน คล้าย เท่า คือ) กริยานุเคราะห์ (ย่อม กำลัง คง อาจ จะ ต้อง ได้ แล้ว ถูก) สภาวมาลา (ทำหน้าที่เป็นเหมือนนาม)
วิเศษณ์ – ใช้ขยาย มี 9 ประเภท เช่น บอกลักษณะ กาล สถาน ประมาณ นิยม อนิยม ประติชญา (หางเสียง) ประติเษธ และปฤจฉา
คำวิเศษณ์บางคำสามารถทำหน้าที่เป็นกริยาของประโยคได้ เช่น หล่อ ดี สวย ร้อน